การใช้รถยก ( Forklift)
หลักสำคัญ 3ประการที่ต้องปฏิบัติ คือ
- รถยกต้องอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานและได้รับการบำรุงรักษาอย่างถูกต้อง
- ผู้ขับขี่รถยกจะต้องเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ ซึ่งผ่านการฝึกอบรมมีใบอนุญาตขับขี่และได้รับการมอบหมายให้ขับขี่โดยเฉพาะเท่านั้น
- ผู้ขับขี่ต้องมีความตื่นตัวตลอดเวลาและทำงานด้วยความระมัดระวัง
- ผู้ขับขี่รถยกต้องมีอุปกรณ์เซฟตี้เช่น หมวก รองเท้า แว่น เสื้อ ฯลฯ
ผู้ขับขี่รถยก
- ผู้ขับขี่รถยกจะต้องเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ ซึ่งผ่านการฝึกอบรมมีใบอนุญาตขับขี่โดยเฉพาะเท่านั้น
- ต้องแน่ใจว่ารถยกได้ปฏิบัติงานในพื้นที่ที่เหมาะสม
- ก่อนและหลังการยกงาขึ้น/ลง ต้องให้สัญญาณและเตือนผู้อยู่ในบริเวณใกล้เคียง
- ห้ามยืน เดิน หรือทำงานใต้งารถยกที่กำลังทำงาน
- บรรทุกวัสดุตามพิกัดที่กำหนด
- หากมีเหตุขัดข้องระหว่างการทำงาน ห้ามเข้าใต้งา หรือพยายามที่จะทำการซ่อมแซมหรือกระทำการใด ๆ ทั้งสิ้น

ข้อปฏิบัติในการขับขี่
- ก่อนเคลื่อนรถยกออกไป ต้องสำรวจว่าบริเวณใกล้เคียงมีสิ่งกีดขวางหรือไม่
- ตรวจสอบรถยกทุกวัน หากมีจุดผิดปกติให้รายงานผู้รับผิดชอบ ห้ามใช้รถยกที่มีลักษณะไม่ปลอดภัย
- รีบรายงานอุบัติเหตุ หรือเหตุผิดปกติให้ผู้รับผิดชอบทราบทันทีเพื่อสามารถตรวจสอบสาเหตุได้ทันที
- ตรวจสอบความเรียบร้อยของแบตเตอรี่ ถังน้ำมันและฝาปิด ก่อนสตาร์ทเครื่อง หรือเริ่มทำงาน
- ควบคุมความเร็วรถให้สามารถที่จะหยุดได้กะทันหัน
- บีบแตรให้สัญญาณขณะขับรถในมุมอับ
- สอดงาใต้วัสดุที่บรรทุกให้ลึกที่สุดเท่าที่จะทำได้ ขณะขับเคลื่อนจะต้องให้วัสดุพิงแผงงา และกางงาออกให้พอดีกับน้ำหนัก (บรรทุก)
- ห้ามใช้ชั้นวางที่ชำรุดในการยก
- การเคลื่อนรถออกทุกครั้งต้องยกงาสูงกว่าพื้นประมาณ 6 – 8 นิ้ว เสมอ
- ขณะรถวิ่ง ให้ยกวัสดุในระดับต่ำที่สุดเท่าที่จะทำได้
- ขับรถให้ความเร็วรถพอเหมาะกับสภาพพื้นผิวถนน น้ำหนักบรรทุก และสภาพของบริเวณทีทำงาน
- หากวัสดุที่บรรทุกสูงจนมองไม่เห็นทางข้างหน้า ให้ขับรถถอยหลังไปแทน
- ห้ามขนย้ายวัสดุที่จัดตั้งไม่เป็นระเบียบ
- ตรวจสอบสิ่งกีดขวางเหนือศรีษะทุกครั้งที่จะขนย้ายวัสดุ
- ห้ามออกรถเร็ว หยุดกระทันหัน หรือเลี้ยวฉับพลัน โดยเฉพาะในขณะที่กำลังบรรทุกวัสดุ
- เว้นระยะห่างจากยานพาหนะคันอื่นประมาณ 3 ช่วงคันรถ(นับจากปลายงายกเข้ามา)
- ห้ามแซงซึ่งกันและกันในบริเวณที่อันตราย เช่น มุมอับ ทางแยก ฯ
- ต้องคำนึงถึงความสูง ความกว้างของรถเสมอ และระวังคนยืนเท้าโผล่ออกมาจากมุมอับ
- บีบแตรให้สัญญาณและขับรถช้า ๆ เมื่อเข้าใกล้ทางเดินประตู ทางเข้า และรถยกคันอื่น
- ระมัดระวังเมื่อเข้าใกล้ทางเดินเท้า หลีกเลี่ยงการขับรถยกเข้าใกล้คนยืนอยู่ริมรั้วหรือริมถนน
- ลดความเร็วลงเมื่อเข้าใกล้บริเวณมุมอับที่จะมองไม่ถนัด เช่น มุมประตู หรือขับรถชิดซ้ายไว้จนกว่าจะแน่ใจ
- ห้ามขับแซงรถยกคันอื่นที่ไปทางเดียวกันในบริเวณทางแยก จุดอับ หรือบริเวณที่อันตราย
- ห้ามขับรถทับสิ่งของที่ตกอยู่บนพื้น
- รู้ตำแหน่งของล้อรถยกกับปลายงายกหรือสุดขอบของวัสดุที่จะยกให้ระมัดระวังในขณะกระดกปลายงาก่อนยก
- ห้ามจับพวงมาลัย หรือขับขี่ขณะมือหรือถุงมือเปื้อนน้ำมันหรือลื่น
- ตีเส้นสีเหลืองแสดงช่องเดินรถและบริเวณที่ทำงาน
- ติดตั้งกระจก และหรือ ป้ายสัญญาณหยุด ในบริเวณประตูทางเดิน หรือสถานที่ทำงานที่เป็นจุดอันตราย บีบแตรให้สัญญาณทุกครั้งที่เข้าใกล้บริเวณดังกล่าว
- ปลดเกียร์ว่าง ใส่เบรค ลดงาให้อยู่ในระดับต่ำสุดและดับเครื่องยนต์ทุกครั้งที่จอดหลังใช้งาน
- ห้ามผู้โดยสารบนรถ
- ดูกระจกเงาสะท้อนมุมถนน เมื่อถึงบริเวณถนนหักมุมและพร้อมที่จะหยุดหากมีเรื่องกระทันหัน และบีบแตรให้สัญญาณทุกครั้ง
การเติมน้ำมันเชื้อเพลิง
- ดับเครื่องก่อนเติมน้ำมันในบริเวณที่กำหนดทุกครั้ง
- ตรวจการปิดฝาถังน้ำมันให้เรียบร้อยหลังเติมน้ำมัน และทำความสะอาดเมื่อน้ำมันหกก่อนการติดเครื่อง
- ภาชนะบรรจุน้ำมันต้องติดฉลากให้ชัดเจน

อุปกรณ์ดับเพลิงต้องติดไว้ที่บริเวณที่เติมน้ำมันและเตรียมพร้อมเสมอที่จะนำมาใช้งาน
______________________________________________________________________________________________________________
ความปลอดภัยในการใช้รถโฟล์คลิฟท์ ให้เซฟตี้ พร้อมเข้าโรงงาน !
- เวลาขับรถสวนกันต้องเผื่อระยะห่างระหว่างรถให้เพียงพอ
- ก่อนขับรถลอดผ่านที่ใด ๆ ผู้ขับต้องแน่ใจว่าสามารถขับลอดผ่านได้อย่างปลอดภัย
- เพื่อความปลอดภัยก่อนเลี้ยว ถึงทางแยกหรือถอยหลังต้องให้สัญญาณแตรทุกครั้ง
- เมื่อขับรถยกขึ้นเนินโดยมีของบรรทุกอยู่ ให้ขับรถไปข้างหน้า ในกรณีที่มองข้างหน้า ไม่เห็นเนื่องจากของที่บรรทุกบังสายตาคนขับต้องมีเจ้าหน้าที่คอยบอกทางอยู่ด้านหน้าเสมอ
- เมื่อขับรถยกลงเนินโดยมีของบรรทุกอยู่ ให้ขับรถถอยหลัง เมื่อลงเนินเสมอ
- การขับรถยกข้ามทางรถไฟต้องไปช้า ๆ เป็นแนวแทยง
- ขับรถช้า ๆ เมื่อผ่านทางที่เปียกลื่น
- ขณะขับรถอย่ายื่นมือ หรือเท้าออกไปเกินส่วนที่เป็นเสาของรถ
- ห้ามขับรถยกในขณะที่มีอาการง่วง มึนงงหรืออยู่ในอาการเมา
- ห้ามยกงาสูงค้างไว้ในกรณีวิ่งรถเปล่า
- ควรมีแผ่นป้ายบอกเตือนความปลอดภัยในแต่ละจุด
- เลือกใช้ Pallet ให้เหมาะสมกับของที่จะยก
- ตั้งระยะความกว้างของงาให้เหมาะสม
- ต้องมั่นใจว่าวัสดุสิ่งของที่บรรทุกอยู่บน Pallet ที่ปลอดภัยและบรรทุกอยู่ในสภาพ ที่มั่นคง ก่อนขับเคลื่อนรถยก
- เมื่อบรรทุกของและนำรถออกอย่าวิ่งยกงาสูงควรให้ระดับงาสูงจากพื้นผิวประมาณ 8 นิ้ว
- อย่ายกของที่บรรทุกไว้สูงขณะที่รถยกวิ่งผ่านพื้นที่ลาดเอียงต่างระดับ
- ห้ามยกของหรือขับรถยกโดยการเอียงงาไปทางด้านหน้ารถ
- ห้ามใช้รถยกดันวัสดุสิ่งของ
- ในขณะที่ยกของขึ้นหรือลงควรทำอย่างระวังเพื่อป้องกันการเสียหายและอันตรายที่ จะเกิดขึ้น
- ห้ามยกของถ้ารถยกไม่อยู่บนพื้นระดับเพราะจะทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นได้
- ห้ามบรรทุกของสูงหรือมีน้ำหนักของเกินอัตรากำลังของรถ ตามรุ่นที่ระบุไว้
- ถ้าของบรรทุกมีขนาดใหญ่ไม่สามารถมองเห็นข้างหน้าได้ควรขับรถถอยหลัง
- ห้ามมิให้ผู้ใดยืน หรือเดินผ่านใต้เงารถยก
- ใช้ตะแกรงกั้นของและหลังคานิรภัยสำหรับการใช้งานยกของสูง ๆ
- หลีกเลี่ยงการที่จะทำให้เสียการทรงตัว
- ระวังท้ายปัด
- ห้ามใช้รถยกแทนลิฟท์
- ห้ามใช้รถยกขับแข่งขัน36. ห้ามใช้รถยกเป็นรถรับส่งผู้โดยสาร
- ขณะจอดอยู่กับที่ ต้องลดงาลงวางติดกับพื้นก่อนทุกครั้ง
- ห้ามสูบบุหรี่ และต้องดับเครื่องยนต์ทุกครั้งที่มีการเติมน้ำมัน
- ตรวจตรารถยกเมื่อเลิกงาน
- ไฟส่องสว่างและไฟสัญญาณต่าง ๆ ต้องอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้
- เรียนรู้เกี่ยวกับรถยกให้มากที่สุดและท่านจะสะดวกใจ
- ขับรถยกต้องเป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตและผ่านการอบรมอย่างถูกต้องเท่านั้น
- ก่อนเริ่มงานควรตรวจสภาพของรถและในกรณีพบความเสียหายให้แจ้งหัวหน้างานทันที
- คาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้งขณะที่ขับรถ
- ก่อนที่จะทำการสตาร์ทเครื่องต้องดึงเบรคมือ และปลดเกียร์ว่างเสียก่อน
- ต้องปฎิบัติตามกฎจราจรในการขับขี่ แล้ใช้อัตราความเร็วที่ตรงงานนั้น ๆ กำหนดไว้
- อย่าออกรถหรือหยุดรถทันทีทันใด
- ต้องขับรถทิ้งระยะห่างจากคันหน้าในระยะที่ปลอดภัย
______________________________________________________________________________________________________________
คำนิยามของเช่า Forklift บริการให้เช่ารถโฟล์คลิฟท์
รถยก เป็นรถที่ใช้สำหรับยกและขนย้ายสิ่งของ ในปัจจุบันรถยกถือเป็นสิ่งจำเป็นอย่างหนึ่งที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม และคลังสินค้า เป็นการช่วยลดเวลาการทำงาน ทุ่นแรงยกและการเคลื่อนย้าย ลดการบาดเจ็บจากการยกของหนัก และลดการจ้างมนุษย์ ลักษณะโดยทั่วไปของรถยกมี แท่งเหล็กยื่นออกมาจากโครงสร้างหลักของตัวรถเรียกว่า งา เพื่อใช้สำหรับวางและยกสิ่งของ เพื่อทำการเคลื่อนย้าย โดยอาศัยกลไกการทำงานในรูปแบบต่างๆ
รถยก หรือ “โฟร์คลิฟท์” หรือ “ฟอร์คลิฟท์” มาจากคำภาษาอังกฤษว่า “FORKLIFT” ซึ่งเป็นการผสมคำสองคำ คือ “FORK” ที่แปลว่า “ช้อนส้อม” และ คำว่า “LIFT” ที่แปลว่า “การขึ้นลงในแนวตั้ง รถยกแบ่งออกตามประเภทของต้นกำลังขับเคลื่อนได้ 2 ประเภท คือ
1. ENGINE FORKLIFT รถยกที่ใช้เครื่องยนต์เป็นต้นกำลัง โดยใช้นำมันเป็นเชื้อเพลิง รถยกประเภทนี้สามารถแบ่งออกตามชนิดเชื้อเพลิงที่ใช้ได้ 3 ประเภท คือ
1.1 DIESEL ENGINE (เครื่องยนต์ดีเซล)
1.2 GASOLINE ENGINE (เครื่องยนต์แก๊สโซลีน)
1.3 L.P.G. ENGINE (เครื่องยนต์แก๊ส L.P.G.)
นอกจากนั้นรถยกที่ใช้เครื่องยนต์เป็นต้นกำลัง สามารถแบ่งตามระบบส่งกำลังได้ 2 ประเภทคือ – ระบบส่งกำลังด้วยทอร์ค (TOROFLOW TRANSMISSION)- ระบบส่งกำลังด้วยคลัทซ์ (DIRECT DRIVE)
2. BATTERY FORKLIFT รถยกไฟฟ้าใช้มอเตอร์เป็นต้นกำลังขับเคลื่อนโดยได้รับกระแสไฟฟ้ามาจากแบตเตอรี่ รถยกไฟฟ้าสามารถแบ่งตามลักษณะโครงสร้างภายนอกได้เป็น 2 แบบ คือ – แบบ COUNTER BALANCIT (แบบนั่งขับ) – แบบ REACH TURCK (แบบยืนขับ)
บริษัท blmotorwork blforklift มีบริการให้เช่ารถโฟล์คลิฟท์ ครบวงจร
เครดิต : th.wikipedia.org
______________________________________________________________________________________________________________