วิธีการชาร์จแบตเตอรี่รถยก
การชาร์จแบตเตอรี่ มี 2 วิธี (ตู้ชาร์จมี 2 ระบบ)
1.) NORMAL CHARGER คือการชาร์จแบตเตอรี่ตามปกติโดยเราจะใช้การชาร์จแบบนี้เป็นประจำวัน โดยจะชาร์จหลังจากเลิกใช้รถยกในแต่ละวัน
2.) EQUAL CHARGER คือ การชาร์จแบตเตอรี่เพื่อปรับความถ่วงจำเพาะของน้ำกรดในแต่ละเซลล์ให้ใกล้เคียงกันทั้งนี้เนื่องจากเมื่อเราใช้งานไปหลาย ๆ วัน ค่าถ่วงจำเพาะของน้ำกรดจะไม่เท่ากัน ฉะนั้นจึงต้องทำ EQUAL CHARGER 1 ครั้ง การชาร์จแบบนี้ กระแสไฟจะเข้าไปชาร์จอยู่นานกว่าแบบ NORMAL ควรทำ EQUAL ทุก ๆ 2 สัปดาห์ ห้ามใช้ EQUAL CHARGER เป็นประจำทุกวัน เพราะจะทำให้แบตเตอรี่ร้อนจัดและเสื่อมเร็วขึ้น
วิธีการชาร์จแบตเตอรี่ประจำวัน
1.) ปิดสวิทซ์กุญแจของรถยกมาที่ตำแหน่ง OFF ก่อนจะทำการชาร์จ
2.) ปลดปลั๊กแบตเตอรี่จากตัวรถยก และนำปลั๊กของแบตเตอรี่มาเสียบต่อกับปลั๊กของตู้ชาร์จ โดยจะต้องเสียบให้แน่น และเปิดฝาครอบเซลล์ทุกเซลล์ในขณะทำการชาร์จ
3.) จ่ายกระแสไฟเข้าเครื่องชาร์จเจอร์
4.) กดปุ่ม NORMAL เพื่อเริ่มต้นชาร์จ โดยชาร์จเจอร์จะทำการชาร์จไปเรื่อย ๆ จนแบตเตอรี่เต็ม (VOLTAGE แต่ละเซลล์ประมาณ 24 โวลต์) หลังจากกระแสไฟสว่างขึ้น และการชาร์จก็จะทำงานต่อไปประมาณ 4 ชั่วโมง เมื่อครบ 4 ชั่วโมง ไฟบนตำแหน่ง UP ก็จะสว่างขึ้น แสดงว่าการชาร์จเสร็จสมบูรณ์ ตู้ชาร์จก็จะหยุดการชาร์จโดยอัตโนมัติ ก็ให้ปิดตู้ชาร์จและนำแบตเตอรี่ไปใช้งานได้ในการใช้รถยกนั้นมีสิงที่ควรระวังมากมายเพื่อให้การใช้นั้นเป็นไปอย่างราบรื่น และสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่หน้าที่ปฏิบัติงานนั้น คงลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องรู้ข้อปฏิบัติ หรือ ข้อควรระวังกัน เพื่อให้การบำรุงรักษารถยกหรือการทำงานเป็นไปอย่างปลอดภัย
มาดูกันว่าสิ่งที่ควรระวังในการบำรุงรักษารถยกที่คุณใช้งานอยู่มีอะไรบ้าง ?
1.ไม่อนุญาติให้บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องยืนอยู่ใกล้รถยก
2.ไม่ควรเก็บ น้ำมัน จารบี หรือผ้าที่เปื้อนไว้ใกล้ไฟ ควรมีการเตรียมการถ้าเกิดกรณีไฟใหม้ จะต้องรู้ตำแหน่งของเครื่องดับเพลิงและวิธีการใช้อุปกรณ์
3.สวมหมวกเซฟตี้ รองเท้าหัวเหล็ก และชุดทำงาน เมื่อมีการเจาะ เจียร การเคาะ หรือใช้ลมที่มีแรงดันสูง จะต้องใส่แว่นตาเสมอ
4. ต้องเข้าใจการทำงานของรถยก ก่อนทำงาน และควรทำงานในพื้นที่ที่สะอาด
5. ต้องจอดรถยกในพื้นที่เรียบ ดึงเบรคมือ ผลักคันโยกให้อยู่ในตำแหน่ง ” ว่าง” และวางงาให้เรียบกับพื้นและดับเครื่องยนต์
6. ปลดสายแบตเตอรี่ ทุกครั้งที่มีการซ่อม
7. ทำความสะอาดทันที่ เมือมีน้ำมันหรือ จาระบีเปื้อนบนพื้น หรือห้องคนขับ เพราะจะทำให้ลื่นไถล อาจทำให้เกิดอันตรายต่อบุคคลอื่นๆ ได้
8. การซ่อมทุกครั้งจะต้องดับเครื่องยนต์ก่อน แต่ถ้าจำเป็นต้องทำงาน ขณะติดเครื่องยนต์ จะต้องมีช่าง 2 คน โคย คนแรกนั่งบนรถ และ อีกคนเป็นผู้ซ่อม
9. ควรจำใว้เสมอว่า วงจรไฮดรอลิกอยู่ภายใต้ความดันที่สูงเพราะ ฉะนั้นเมื่อมีการซ่อมระบบไฮดรอลิกหรือบำรุงรักษาจะต้องลดแรงดันในระบบไฮดรอลิกเป็นอันดับแรก
การบำรุงรักษาประจำวัน
ก่อนติดเครื่อง
1. ตรวจดูความสะอาดภายนอก
2. ตรวจระดับน้ำในหม้อน้ำและหม้อพักน้ำ
3. ตรวจระดับน้ำมันเครื่อง
4. ตรวจดูระดับน้ำมันเชื้อเพลิง
5. ตรวจดูระดับน้ำมันเกียร์อัตโนมัติ
6. ตรวจระดับน้ำมันไฮโดรลิค
7. ตรวจระดับน้ำมันเกียร์พวงมาลัย
8. ตรวจดูระดับน้ำมันเบรค
9. ตรวจระดับน้ำกลั่นแบตเตอรี่
10. ตรวจความตึงของสายพานเครื่องยนต์
11. ตรวจการทำงานของเบรคมือและขาเบรค
12. ตรวจระบบสัญญาณไฟเลี้ยว ไฟถอยหลัง ไฟส่องสว่างและสัญญาณแตร
13. ตรวจสภาพความตึงของโซ่ยกของ
14. ตรวจสภาพยาง
15. ตรวจวัดลมยางและเติมให้ได้แรงดันตามที่กำหนดไว้
16. ตรวจรอยรั่วซึมตามจุดต่าง ๆ
หลังติดเครื่อง
1. ตรวจเช็คว่ามีเสียงดังผิดปกติจากเครื่องยนต์หรือไม่
2. ตรวจดูไฟที่หน้าปัดดับหมดหรือไม่
3. ตรวจระยะฟรีของพวงมาลัยและการบังคับเลี้ยว
4. ตรวจการทำงานของชุดควบคุมอุปกรณ์ยกงาว่าทำงานเรียบร้อยหรือไม่หลังการใช้งาน ขณะเครื่องยนต์ยังติดอยู่
5. จอดรถในสถานที่จอดรถกำหนดไว้
6. ลดงาของรถให้อยู่ในแนวราบกับพื้นโรงงาน
7. ล็อคเบรคมือให้เรียบร้อย
8. หล่อลื่นตามจุดต่าง ๆ ให้เรียบร้อย เช่น โซ่ยกของ ชุดแผ่นทองเหลืองหลังเสา
9. ตรวจเช็คดูการรั่วซึมจากการใช้งาน เช่น น้ำมันไฮโดรลิค น้ำมันเกียร์ น้ำมันเครื่อง และน้ำในหม้อน้ำ
10. ตรวจเช็คฟังเสียงว่ามีเสียงอะไรผิดปกติหรือไม่
11. หลังจากการใช้งาน ควรปล่อยให้เครื่องยนต์เดินเบาในตำแหน่งเกียร์ว่างประมาณ 3 นาที จึงค่อยดับเครื่องยนต์หลังดับเครื่องยนต์
12. เติมน้ำมันให้เต็มถังเพื่อพร้อมการใช้งานในวันต่อไป
13. ปลดเกียร์ว่างไว้เสมอ และดึงลูกกุญแจรถออกเก็บยังที่เก็บ
______________________________________________________________________________________________________________
การตรวจสภาพโฟล์คลิฟท์ก่อนใช้งานและหลังใช้งานประจำวัน
การตรวจสอบตรวจสภาพโฟล์คลิฟท์ก่อนใช้งานประจำวันแบ่งออกเป็น 3 ลำดับคือ
- วิธีตรวจสอบตรวจสภาพฯ ก่อนสตาร์ทเครื่องยนต์ (Pre-Check)
- วิธีตรวจสอบตรวจสภาพฯ หลังสตาร์ทเครื่องยนต์ (Functional Check)
- วิธีตรวจสอบตรวจสภาพฯ หลังจากจอด (Parking Check)
กรณีตรวจสอบตรวจสภาพก่อนใช้งานประจำวัน และพบความผิดปกติหรือความบกพร่องของโฟล์คลิฟท์, ให้แจ้งหัวหน้างานทันที การตัดสินใจในการหยุดหรือให้ใช้งานต่อด้วยเงื่อนไขใด ให้อยู่ในดุลยพินิจของหัวหน้างาน
ตรวจสอบก่อนสตาร์ทเครื่องยนต์ (Pre-Check)
- ตรวจสอบระดับน้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์-ดึงก้านวัดระดับน้ำมันหล่อลื่นขึ้นมา ใช้ผ้าเช็ดทำความสะอาด ดันคืนกระทั่งสุดและดึงออกมาอ่านค่าระดับ ระดับต้องอยู่ระหว่าง Upper กับ Lower หากระดับต่ำน้ำมันหล่อลื่นอาจรั่วไหลออกนอกระบบ-หากสูงอาจมีน้ำหล่อเย็นรั่วไหลลงอ่างน้ำมันหล่อลื่น
- ตรวจสอบระดับน้ำยาหล่อเย็นในหม้อน้ำสำรอง
- ตรวจสอบระดับน้ำมันไฮดรอลิกส์
- ตรวจสอบระดับน้ำมันหล่อลื่นห้องเกียร์
- หากเป็นแบตเตอรีแบบเปียก ให้ตรวจระดับน้ำกลั่น แบตเตอรีแบบเปลือกทึบให้เปิดฝาจุกช่องเซลล์เพื่อตรวจสอบ ต้องไม่มีประกายไฟ ทั้งนี้เนื่องจากจะมีก๊าซไฮโดรเจน (H2) ซึ่งเป็นก๊าซไวไฟ อาจทำให้เกิดการระเบิดได้
- ตรวจสอบสภาพยางและสภาพล้อ-qตรวจสอบสภาพดอกยาง qตรวจสอบสภาพกะทะล้อและน๊อตยึด สำหรับอุตสาหกรรมอาหารบางประเภทซึ่งต้องใช้โฟล์คลิฟท์ชนิดล้อไม่มีดอกยางในงานขนถ่าย ลักษณะดังกล่าวนี้ให้ดูระยะใช้งานด้านข้างขอบยาง ว่าสึกถึงระยะที่กำหนดไว้แล้วหรือยัง หากเป็นโฟล์คลิฟท์ขนาดใหญ่เช่น 15 ตันขึ้นไป บางรุ่นยางจะเป็นแบบจุ๊บเลสเติมลม ให้ตรวจสอบความดันลมยางด้วยเกจวัดความดันก่อนใช้งานทุกวัน
- ตรวจสอบสภาพงายกและแผงงา-qตรวจสอบสภาพงายก การแตกร้าว การสึกของโคนงาและปลายงา ตรวจสอบสภาพแผงงาและการยึดแน่นของแผงงา
- ตรวจสอบหลังสตาร์ทเครื่องยนต์ (Functional Check)
Note-การตรวจสอบลำดับนี้ ไม่อนุญาตให้ผู้คนอยู่ด้านหน้าและด้านหลังโฟล์คลิฟท์
ตรวจสอบระดับน้ำมันเชื้อเพลิงโดยดูจากเกจวัดระดับฯ แผงหน้าปัทม์, หากเป็นโฟล์คลิฟท์ขนาดใหญ่เช่นขนาดโตกว่า 20 ตัน บางรุ่น บางยี่ห้อ จะมีหลอดตาแก้ว (Level glass gauge) อยู่ด้านข้างตัวรถ แม้รถยังไม่สตาร์ทก็ตรวจเช็คระดับน้ำมันเชื่อเพลิงได้
ตรวจสอบการทำงานของเกจวัดบนแผงหน้าปัทม์
- ตรวจสอบการทำงานของระบบไฮดรอลิกส์ โดยควบคุมให้งาทำงาน 4 ทิศทางคือ qควบคุมงาตามแนวดิ่งขึ้นสุด, qควบคุมงาตามแนวดิ่งลงและหยุดเมื่อระดับสูงจากพื้นประมาณ 30 เซนติเมตร, qควบคุมงา-คว่ำสุด, qควบคุมงา-หงายสุด /การทำงานของไฮดรอลิกส์และระบบงายกที่สมบูรณ์ การเคลื่อนที่ต้องเรียบไม่สะดุด
- ตรวจสอบการทำงานของระบบบังคับเลี้ยวและทดสอบระบบเบรค โดยให้ควบคุมโฟล์คลิฟท์ดังนี้-เดินหน้าประมาณ 2 เมตรและเบรค ถอยหลังประมาณ 2 เมตรและเบรค เดินหน้า เลี้ยวซ้ายประมาณ 2-3 เมตรและเบรค เดินหน้า เลี้ยวขวาประมาณ 2-3 เมตรและเบรค
- ตรวจสอบการทำงานของเครื่องยนต์และการทำงานของห้องเกียร์-ฟังเสียงดังที่ผิดปกติและลักษณะการสั่นกระพือขณะทำงาน
- ตรวจสอบไฟส่องทำงาน
- ทดสอบการทำงานของแตร
- ทดสอบและตรวจสอบการทำงานของไฟสัญญาณ-ไฟเตือนการทำงานหรือไฟวับวาบ, qไฟเลี้ยวซ้ายขวา, qสัญญาณไฟถอยหลังและสัญญาณเสียงถอยหลัง
- ตรวจสอบความตึงหย่อนของโซ่ขับเคลื่อนแผงงา-ยืนยันว่าโฟล์คลิฟท์อยู่ทีเกียร์ว่าง ควบคุมเสาโฟล์คลิฟท์ ดิ่งและควบคุมระดับให้สูงจากพื้นประมาณ 10-30 เซนติเมตร ดับเครื่องยนต์ ดึงเบรคมือและลงไปหน้ารถฯ ใช้หัวแม่มือกดโซ่ซ้ายขวาพร้อมกันเพื่อตรวจสอบความตึงหย่อน
ตรวจสอบหลังจอดเลิกใช้งานประจำวัน (Parking Check)
- จอดโฟล์คลิฟท์บนพื้นที่ซึ่งหน่วนงานฯ กำหนดให้
- ปลดเกียร์ว่าง
- ดึงเบรคมือ
- ควบคุมงาคว่ำหน้าประมาณ 5-10 องศา และลดระดับให้ปลายงาถึงพื้น
- ดับเครื่องยนต์
_______________________________________________________________________________________________________________